0-2727-3138 - 43, 0-2727-3162 National Institute of Development Administration (NIDA)

          TH   EN

Master Page

 

  Home / Master Page

สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาอาชีพ

          ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และสารสนเทศ ยังผลให้เกิดการติดต่อสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ กับนานาประเทศ ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจึงมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ดังจะเห็นได้จากการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่เกิดขึ้นมากมายหลายรูปแบบ ตั้งแต่การสอนภาษาอังกฤษในสถาบัน การศึกษาทุกระดับ การสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนสอนภาษาและโรงเรียนกวดวิชาต่าง ๆ การสอนภาษาอังกฤษผ่านสื่อต่าง ๆ อาทิ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร อินเทอร์เน็ต และสื่อสารสนเทศ ตลอดจนการฝึกอบรมภาษาอังกฤษหลักสูตรพิเศษที่จัดโดยสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน แต่ความจำเป็นและความต้องการด้านภาษาอังกฤษในกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพในหน่ายงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ธนาคาร บริษัทห้างร้าน รวมถึงผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นตามความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ

          คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ได้เล็งเห็นความต้องการดังกล่าวที่ปรากฏชัดในสังคมวงกว้างและทุกระดับ จึงได้ดำเนินการจัดทำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาอาชีพ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่จะเสริมสร้างผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ เพื่อตอบสนองความต้องการแต่ละบุคคล ความต้องการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และกระแสการเปลี่ยนแปลงของประเทศและโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคต

  1. ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาอังกฤษ ภาษาศาสตร์รประยุกต์ รวมทั้งภาษาอังกฤษเพื่องานอาชีพในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ผลิตมหาบัณฑิตที่มีทักษะความสามารถทางภาษาอังกฤษที่สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการทางเศรษฐกิจ สังคม และสภาวะปัจจุบันของประเทศ
  3. ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ วิสัยทัศน์ และศักยภาพที่สามารถพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมและแนวคิดของเจ้าของภาษา ตลอดจนมีความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาอังกฤษใจวิชาชีพของตนในระดับสูง
  4. ผลิตบัณฑิตที่มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม สามารถจัดการกับปัญหาทางจริยธรรมที่ซํบซ้อนในบริบทของวิชาการหรือวิชาชีพได้ อย่างมั่นคงและมีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มในการหาทางเลือกที่เหมาะสม เพื่อปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพและ เป็นประโยชน์ต่อชุมชน
  • ชาวไทยและชาวต่างชาติที่สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำในระดับปริญญาตรี หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันกำหนดให้เข้าเป็นนักศึกษา

  • ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสถาบัน โดยการสอบข้อเขียนและ/หรือสอบสัมภาษณ์

  1. รับนักศึกษาชาวไทยและชาวต่างชาติที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าทุกสาขา จากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชนทั้งในและต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รับรอง หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์อนุมัติให้เข้าเป็นนักศึกษา สำหรับประสบการณ์ทำงานให้เป็นไปตามประกาศสถาบัน
  2. ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสถาบัน โดยการสอบข้อเขียนและ/หรือสัมภาษณ์ (หรือได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการปริญญาโทของหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาอาชีพ)
  1. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
  2. ครู อาจารย์
  3. นักวิจัย นักวิชาการ
  4. ล่าม นักแปล
  5. พนักงานและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาอังกฤษ
  6. ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ
  7. ผู้ประกอบอาชีพอิสระ
  1. ตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในการใช้และการวิจัยภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในบริบทอาชีพ
  2. เข้าใจโครงสร้างภาษาอังกฤษ รวมถึงหลักการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารได้อย่างถูกต้อง
  3. เข้าใจระเบียบวิธีวิจัยที่หลากหลาย เกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารในบริบทอาชีพ
  4. ประยุกต์ความรู้และหลักการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. บูรณาการความรู้ด้านภาษาอังกฤษและระเบียบวิธีวิจัยเพื่อศึกษาและค้นคว้าการใช้ภาษาอังกฤษในบริบทอาชีพ
  6. วิเคราะห์โครงสร้างและรูปแบบการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในบริบทอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  7. ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการใช้ภาษาอังกฤษในบริบทอาชีพ

แผนการศึกษา

โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชา แผน ก2
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาพื้นฐาน 6 หน่วยกิต
หมวดวิชาหลัก 9 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก 9 หน่วยกิต
หมวดวิชาค้นคว้าอิสระ -
วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
สอบประมวลความรู้ -
รวม 36 หน่วยกิต

 

หมวดวิชา แผน ข
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต
หมวดวิชาพื้นฐาน 6 หน่วยกิต
หมวดวิชาหลัก 9 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก 18 หน่วยกิต
หมวดวิชาค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ -
สอบประมวลความรู้ โดยสอบข้อเขียน
รวม 36 หน่วยกิต

 

รายวิชา

หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)

สพ 4000

ND 4000

พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา

Foundation for Graduate Studies

อพอ 4000

EPD 4000

ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา

English for Graduate Studies

หมวดวิชาพื้นฐาน (6 หน่วยกิต)

อพอ 5000

EPD 5000

ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาอาชีพ

English Grammar for Professional Development

อพอ 5001

EPD 5001

การออกเสียงภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเชิงวิชาชีพ

English Pronunciation for Professional Communication

หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (9 หน่วยกิต)

อพอ 6000

EPD 6000

การฟังและการพูดภาษาอังกฤษแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาอาชีพ

Integrated English Listening and Speaking for Professional Development

อพอ 6001

EPD 6001

การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาอาชีพ

Integrated English Reading and Writing for Professional Development

อพอ 6002

EPD 6002

ระเบียบวิธีวิจ้ย

Research Methodology

หมวดวิชาเลือก (แผน ก2 9 หน่วยกิต แผน ข 18 หน่วกิต)

อพอ 7000

EPD 7000

การวิเคราะห์วาทกรรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเชิงอาชีพ

English Discourse Analysis for Professional Communication

อพอ 7001

EPD 7001

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม

English for Intercultural Communication

อพอ 7002

EPD 7002

ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการแปล

Translation Theory and Practice

อพอ 7003

EPD 7003

การนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาอาชีพ

Presentations in English for Professional Development

อพอ 7004

EPD 7004

ภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ

English for Business

อพอ 7005

EPD 7005

ภาษาอังกฤษเพื่อผู้สอนมืออาชีพ

English for Professional Instructors

อพอ 7006

EPD 7006

การศึกษาเฉพาะเรื่อง

Selected Topics

การค้นคว้าอิสระ (3 หน่วยกิต)

อพอ 9000

EPD 9000

การค้นคว้าอิสระ

Independent Study

วิทยานิพนธ์ (12 หน่วยกิต)

อพอ 9004

EPD 9004

วิทยานิพนธ์

Thesis

หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)

สพ 4000

ND 4000

พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา

Foundation for Graduate Studies

อพอ 4000

EPD 4000

ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา

English for Graduate Studies

หมวดวิชาพื้นฐาน (6 หน่วยกิต)

อพอ 5000

EPD 5000

ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาอาชีพ

English Grammar for Professional Development

อพอ 5001

EPD 5001

การออกเสียงภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเชิงวิชาชีพ

English Pronunciation for Professional Communication

หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (9 หน่วยกิต)

อพอ 6000

EPD 6000

การฟังและการพูดภาษาอังกฤษแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาอาชีพ

Integrated English Listening and Speaking for Professional Development

อพอ 6001

EPD 6001

การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาอาชีพ

Integrated English Reading and Writing for Professional Development

อพอ 6002

EPD 6002

ระเบียบวิธีวิจ้ย

Research Methodology

หมวดวิชาเลือก (แผน ก2 9 หน่วยกิต แผน ข 18 หน่วกิต)

อพอ 7000

EPD 7000

การวิเคราะห์วาทกรรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเชิงอาชีพ

English Discourse Analysis for Professional Communication

อพอ 7001

EPD 7001

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม

English for Intercultural Communication

อพอ 7002

EPD 7002

ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการแปล

Translation Theory and Practice

อพอ 7003

EPD 7003

การนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาอาชีพ

Presentations in English for Professional Development

อพอ 7004

EPD 7004

ภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ

English for Business

อพอ 7005

EPD 7005

ภาษาอังกฤษเพื่อผู้สอนมืออาชีพ

English for Professional Instructors

อพอ 7006

EPD 7006

การศึกษาเฉพาะเรื่อง

Selected Topics

การค้นคว้าอิสระ (3 หน่วยกิต)

อพอ 9000

EPD 9000

การค้นคว้าอิสระ

Independent Study

วิทยานิพนธ์ (12 หน่วยกิต)

อพอ 9004

EPD 9004

วิทยานิพนธ์

Thesis


  Course Description / รายละเอียดรายวิชา
Copyright © School of Language and Communication 2019