language@nida.ac.th 0-2727-3138 - 43, 0-2727-3162
TH EN
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารและวัฒนธรรมญี่ปุ่น เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างความรู้เชิงผสมผสานเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในสายอาชีพที่ตนเกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ และยังมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพการสื่อสารด้านภาษาญี่ปุ่นในบริบทที่หลากหลายทั้งในด้านสังคมเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมและการพัฒนา ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งในการขยายขอบเขตความรู้ ด้านพัฒนบริหารศาสตร์
1. เพื่อผลิดบัณฑิตที่มีทักษะด้านการใช้ภาษาญี่ปุ่นในระดับสูง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพของตน
2. เพื่อผลิดบัณฑิตที่มีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีด้านการสื่อสาร สังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่นตลอดจนมีความเข้าใจในการทำงานร่วมกับคนญี่ปุ่น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในสายอาชีพของตนได้
3. เพื่อสร้างองค์ความรู้และงานวิจัยด้านการสื่อสารและวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
4. เพื่อผลิดบัณฑิตที่มีจริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ
ประเมินใบสมัคร และสอบสัมภาษณ์ โดยพิจารณาจาก
หมายเหตุ
1. ผู้บริหาร ผู้กำหนดนโยบายการสื่อสาร ในหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน
2. ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานในหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน
4. ครู อาจารย์
5. นักวิจัย นักวิชาการ
6. ผู้ประกอบอาชีพอิสระ
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารและวัฒนธรรมญี่ปุ่น
ภาคเรียนที่ 1 31,800 บาท
ภาคเรียนที่ 2 (ภาคฤดูร้อน) 11,000 บาท
ภาคเรียนที่ 3 25,300 บาท
ภาคเรียนที่ 4 25,300 บาท
ภาคเรียนที่ 5 16,300 บาท
รวม 112,200 บาท
หมายเหตุ ในแต่ละภาคการศึกษามีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าหนังสือ ค่าเอกสารประกอบการเรียน
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารและวัฒนธรรมญี่ปุ่น ภาคพิเศษ
ภาคเรียนที่ 1 46,300 บาท
ภาคเรียนที่ 2 (ภาคฤดูร้อน) 14,000 บาท
ภาคเรียนที่ 3 55,800 บาท
ภาคเรียนที่ 4 55,800 บาท
ภาคเรียนที่ 5 29,300 บาท
รวม 203,700 บาท
1. เข้าใจทฤษฎีการสื่อสาร สังคม และวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยี
2. เข้าใจและปฏิบัติตามหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณอันพึงประสงค์
3. ประยุกต์ใช้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภาษา การสื่อสาร สังคม และวัฒนธรรมญี่ปุ่น ในการเชื่อมโยงให้เกิดความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่าง
4. วิเคราะห์และวิพากษ์ประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษา การสื่อสาร สังคม และวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้ บนพื้นฐานของเหตุและผล
5. สังเคราะห์องค์ความรู้ผ่านกระบวนการการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงวิชาการและวิชาชีพ
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
2. หมวดวิชาพื้นฐาน (9 หน่วยกิต)
3. หมวดวิชาหลัก (9 หน่วยกิต)
4. หมวดวิชาเลือก (6 หน่วยกิต)
5. วิทยานิพนธ์ (12 หน่วยกิต)
Total 36 credits
1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)
2. หมวดวิชาพื้นฐาน (9 หน่วยกิต)
3. หมวดวิชาหลัก (9 หน่วยกิต)
4. หมวดวิชาเลือก (15 หน่วยกิต)
5. หมวดวิชาค้นคว้าอิสระ (3 หน่วยกิต)
6. สอบประมวลความรู้
Total 36 credits